อย่างที่รู้กันดีว่า ‘แคลเซียม’ เป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อโครงสร้างกระดูกของร่างกาย หากร่างกายได้รับแคลเซียมในปริมาณที่ไม่เพียงพอ ก็อาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะกระดูกพรุน กระดูกหักง่ายได้
ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุ ก็ต้องการแคลเซียมทั้งสิ้นค่ะ แต่การได้รับแคลเซียมต่อวันของแต่ละช่วงวัยนั้นก็มีปริมาณแตกต่างด้วยกันค่ะ
แล้ววัยไหนควรได้รับแคลเซียมในปริมาณเท่าไหร่ เพราะอะไรบ้าง? ไปดูกันเลย
1. วัยเด็ก
เด็กในวัย 3-10 ปี ควรได้รับแคลเซียมประมาณ 600 – 800 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อนำมาเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่กระดูกและฟัน และส่วนอื่น ๆ เพื่อใช้เป็นโครงสร้างของร่างกาย
เด็กวัยนี้ต้องการสารอาหารสำหรับเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากร่างกายกำลังจะพัฒนาเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นและการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว หากได้รับแคลเซียมต่อวันไม่เพียงพอ จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคกระดูกอ่อน กระดูกไม่แข็งแรง และเสี่ยงกระดูกหักได้ง่าย
.
2. วัยรุ่น-วัยหนุ่มสาว
ช่วงอายุ 11-24 ปี ควรได้รับแคลเซียมประมาณ 800 – 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายดำเนินขบวนการก่อรูปกระดูก โดยถ้าร่างกายได้รับแคลเซียมในปริมาณที่ต่ำกว่าร่างกายต้องการ จะก่อให้เกิดปัญหา อย่างโรคกระดูกอ่อน มีอาการเจ็บกระดูก เจ็บกล้ามเนื้อตามา
สำหรับช่วงวัยรุ่น เป็นช่วงที่เจริญเติบโตเร็วที่สุด จนถึงอายุประมาณ 20 ปี และเมื่ออายุเกิน 25 ปีไปแล้ว ร่างกายจะเจริญเติบโตช้าลง ในวัยผู้ใหญ่ที่เป็นวัยทำงาน จำเป็นต้องได้รับแคลเซียมในปริมาณที่เหมาะสมและสม่ำเสมอ
.
3. หญิงตั้งครรภ์-ให้นมบุตร
สำหรับหญิงมีครรภ์แล้ว จำเป็นต้องได้รับแคลเซียมมากกว่าคนธรรมดาเป็นพิเศษ ซึ่งควรได้รับแคลเซียม 1,200 – 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน เนื่องจากจะต้องถ่ายทอดแร่ธาตุดังกล่าวสู่ลูก เพื่อการพัฒนาโครงสร้างร่างกายของทารกในครรภ์
ดังนั้นหญิงมีครรภ์จึงมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะขาดแคลนแคลเซียม นอกจากจะช่วยให้พัฒนาการเติบโตของทารกในครรภ์เป็นปกติแล้ว ยังช่วยป้องกันการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกระดูก หรือโรคกระดูกพรุนในภายหลังได้
.
4. วัยกลางคนถึงวัยสูงอายุ
เมื่อมีอายุมากขึ้นก็จะสูญเสียแคลเซียมเยอะขึ้น โอกาสเผชิญกับโรคเกี่ยวกับกระดูกจะสูง ถ้าร่างกายไม่ได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ วัยสูงอายุจึงควรได้รับแคลเซียมประมาณ 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหญิงวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากการลดลงของฮอร์โมน เอสโตรเจน และประสิทธิภาพในการสร้าง Vitamin D ก็ลดลงตามวัยที่เพิ่มมากขึ้น จึงมีแนวโน้มจะเป็นโรคกระดูกพรุนสูง
แคลเซียมเจลลี่ | แคลเซียม แอลทรีโอเนต | แคลเซียม | นูโวแคลเซียม | calcium jelly | แอสต้าแซนติน | สาหร่ายแดง | astraxanthin | แอสต้าแซนธิน | calcium l-threonate | แคลเซียมคนท้อง | nuvo calcium jelly | นูโวแคลเซียมเจลลี่ | บำรุงกระดูกและข้อ | ต้องการ แคลเซียม | ต้องการ แคลเซียม